ประวัติฟรีเมสันในประเทศไทย
ทางเข้าสุสานโปรแตสแตนท์ ถนนเจริญกรุง
หลุมศพของพี่น้องชาวฟรีเมสันที่มีสัญลักษณ์เกี่ยวกับฟรีเมสันสลักอยู่บนป้าย
อาคารหอประชุมฟรีเมสันแห่งสิงคโปร์
ลัญจกรเดิมของสภาฟรีเมสันภาคตะวันออกกลาง
ลัญจกรแห่งสภาฟรีเมสันภาคตะวันออกกลาง
ภาพอาคารสมาคมสโมสรอังกฤษ ถนนสีลม
ในปี ค.ศ. 1912 บนโปสการ์ดในสมัยนั้น
อาคารหอประชุมฟรีเมสันเซนต์จอห์น
หลังจากสยามได้ลงนาม “หนังสือสัญญาทาง
พระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยาม"
(สนธิสัญญาการค้าเบาว์ริง) ซึ่งจัดทำขึ้นระหว่าง
สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ส่งผลให้
การค้าขายระหว่างประเทศไทยกับทวีปยุโรปเจริญเติบโตขึ้นเป็นลำดับ กรุงเทพฯ ก็กลายเป็นบ้านหลังที่สอง
ของชาวตะวันตกซึ่งส่วนใหญ่จะทำงานกับบริษัทเดินเรือ สำนักงานกฎหมาย ธนาคาร และบริษัทค้าขาย พวกเขาได้นำเอาวัฒนธรรมและประเพณีของเขามาด้วยรวมถึงฟรีเมสัน ทั้งนี้ยังมีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่ทิ้งไว้เห็นได้จากแผ่นป้ายหินบนหลุมฝังศพของชาวตะวันตกที่
สุสานโปรแตสแตนท์ ที่ตั้งอยู่ริมถนนเจริญกรุง บริเวณข้างวัดราชสิงขร หลายป้ายจะมีเครื่องหมายฟรีเมสันอยู่
เริ่มแรกนั้น นักเดินเรือชาวอังกฤษ ชาวไอร์แลนด์ และชาวสกอตแลนด์ ผู้ซึ่งเดินทางไปมา ระหว่าง
เกาะสิงคโปร์ และ กรุงเทพฯ มีความพยายามที่จะก่อตั้งสภาฟรีเมสันขึ้นในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ก็เพราะว่าเนื่องจากพวกเขามีสภาฟรีเมสันในสิงคโปร์อยู่แล้ว และต้องการ
ที่จะมีสภาฟรีเมสันใน กรุงเทพฯ ด้วย
เมื่อถึงตอนปลายทศวรรษที่ 1870 พวกเขาได้พยายามก่อตั้งสภาฟรีเมสันด้วยการประกาศเชิญชวน
ผู้ที่สนใจที่เป็นฟรีเมสันลงในหนังสือพิมพ์ ในกรุงเทพฯ
แต่พอถึงต้นทศวรรษที่ 1880 ก็ต้องประกาศยกเลิก
เพราะว่า สมาชิกที่สนใจมีไม่เพียงพอต่อในการก่อตั้ง
หลังจากนั้นความพยายามในการก่อตั้งสภาฟรี
เมสันก็ไม่ได้ลดน้อยถอยลงแต่อย่างใด ในปี 1898
คณะผู้ก่อตั้ง ได้ขอให้สหสภาฟรีเมสันสูงสุดอังกฤษ (United Grand Lodge of England) เชิญชวนให้ผู้ที่
เป็นฟรีเมสันตามธรรมนูญอังกฤษ, ไอร์แลนด์ หรือ สกอตแลนด์ หรือตามธรรมนูญอื่นๆ ที่พำนักอยู่ในประเทศสยาม มาร่วมก่อตั้งสภาฟรีเมสันในกรุงเทพฯ
เมื่อถึงปี 1890 ท่านเลขานุการสภาฟรีเมสันสูงสุดแห่งอังกฤษ Sir Edward Letchworth ได้ให้แนะนำว่า
ยังไม่ควรตั้งสภาฟรีเมสันในกรุงเทพฯ เพราะระยะทางระหว่างกรุงเทพฯ กับประเทศอังกฤษนั้นไกลกันมาก
ถ้ามีเหตุขัดข้องประการใดเกิดขึ้น ระหว่างการก่อตั้ง
แล้วจะแก้ไขไม่ทันการณ์
อย่างไรก็ตามความตั้งใจการที่จะก่อตั้งสภา
ฟรีเมสันก็ยังคงอยู่ต่อไป อีกทั้งสภาฟรีเมสันภาคซึ่ง
ตั้งอยู่ที่สิงคโปร์ ก็ให้สนับสนุนความพยายามในการตั้งสภาฟรีเมสันของชาวฟรีเมสันที่อยู่ในประเทศไทย และในที่สุดเมื่อปี 1905 ชาวฟรีเมสันในประเทศสยามก็ได้ร่วมกันร่างใบคำร้องขอตั้งสภาฟรีเมสันในประเทศสยามต่อ
สหสภาฟรีเมสันสูงสุดแห่งอังกฤษขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
ในการจัดเตรียมใบคำร้องครั้งนี้ ได้ทำอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น คณะผู้ก่อตั้งได้จัดเตรียมข้อบังคับสภาฯ
ไปด้วยโดยตั้งชื่อสภาฯแห่งนี้ว่า "สภาฟรีเมสันแม่น้ำ"
(ชื่อแม่น้ำเจ้าพระยาที่ชาวต่างชาติใช้เรียกในสมัยนั้น)
และได้เสนอชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ดำรงตำแหน่งครบถ้วนทุกตำแหน่งเพื่อแสดงความพร้อม และได้กำหนดค่าบำรุง
ไว้ที่ 60 บาทต่อคนต่อปี
ทุนทรัพย์ที่ต้องใช้ในการก่อตั้งสภาฟรีเมสันแม่น้ำนั้น ต้องใช้เงินถึง 10,000 บาท (นับว่าสูงมาก
ในสมัยนั้น) แต่ก็ได้รับการบริจาคจากชาวฟรีเมสันจากประเทศต่างๆ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา, ฮ่องกง, พม่า, ไอร์แลนด์, สกอตแลนด์, ออสเตรเลีย, และเยอรมัน เป็นต้น ในใบสมัครนั้น ยังได้แจ้งให้อีกด้วยว่า
สภาฯ ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐบาลระดับสูงให้
ก่อตั้งสภาฟรีเมสันขึ้นในประเทศสยามได้
อย่างไรก็ตามระหว่างที่รอการอนุมัติคำร้องนั้น ท่านประธานของสภาฯแม่น้ำที่ได้เลือกไว้ ถึงแก่กรรม
ดังนั้นจึงต้องเลือกประธานสภาฯกันใหม่ และในปลายปี1906 การก่อตั้งสภาฟรีเมสันแม่น้ำ ก็จำต้องเลิกราไป
ต่อมาความคิดการก่อตั้งสภาฟรีเมสันได้เปลี่ยนจากการก่อตั้งภายใต้ธรรมนูญอังกฤษ เป็นการก่อตั้ง
ภายใต้ธรรมนูญสกอตแลนด์ และในที่สุดก็ได้ตกลงกัน
ให้ใช้ชื่อสภาฟรีเมสันแห่งนี้ว่า "เซนต์จอห์น (St John)"
ภายใต้สภาฟรีเมสันสูงสุดแห่งสกอตแลนด์ ซึ่งตั้งอยู่
ณ กรุงเอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์
หลังจากต้องเผชิญกับความยุ่งยากนานับประการ การก่อตั้งก็ประสบผลสำเร็จโดยได้มีการลงนามรับรองการก่อตั้งที่ กรุงเอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์ ในเดือนสิงหาคม 1910 และได้มีการจัดพิธีการสถาปนาสภาฟรี
เมสันขึ้นในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 1911 นับแต่นั้นมา สภาฯแห่งนี้ก็ได้มีการจัดประชุมเป็นประจำจนถึงปัจจุบัน เว้นแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในระหว่างปี 1942-1945
หลังจากการก่อตั้งแล้ว สภาฟรีเมสันเซนต์จอห์น ได้จัดทำรายงานโดยตรงให้สภาฟรีเมสันสูงสุดแห่งสกอตแลนด์ ที่กรุงเอดินบะระ จนถึงปี 1954 เป็นต้นมา สภาฟรีเมสันสูงสุดแห่งสกอตแลนด์และ สภาฟรีเมสัน เซนต์จอห์น ได้ตกลงกันว่าสภาฯแห่งนี้ควรจะอยู่ร่วมกันกับสภาฟรีเมสันภาคตะวันออกกลาง ซึ่งตั้งอยู่
ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
เมื่อมาสังกัดอยู่ภายใต้สภาฟรีเมสันภาคตะวันออกกลางแล้ว สภาฟรีเมสันเซนต์จอห์นจึงนับเป็นสภาฯ ที่เก่าแก่ที่สุดลำดับที่สอง รองจากสภาฟรีเมสัน
สโกเทีย (Lodge Scotia) ลำดับทะเบียนเลขที่ 1003
ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1906 ณ เกาะปีนัง
อันที่จริงแล้ว สภาฟรีเมสันแห่งแรกในภาคนี้ คือ สภาฟรีเมสันเนปจูน (Lodge Neptune) หมายเลข 441 ก่อตั้งในปี 1810 แต่บัดนี้ ได้อยู่ในความมืดมิด (ปิดทำการ) ไปเสียแล้ว
สำหรับสถานที่ที่ใช้ประชุมสภาฟรีเมสันในขณะนั้น จะเปลี่ยนสถานที่ประชุมไปเรื่อยๆ ในบริเวณกรุงเทพมหานคร เพราะยังไม่มีการจัดสร้างที่ประชุมถาวร ตัวอย่างสถานที่ ที่เคยเป็นสถานที่จัดประชุม เช่น
- อาคารของบริษัท Gerson & Son ถนน สีลม
- บ้านเช่า ใน ซอยสุขุมวิท 39
- สมาคมสโมสรอังกฤษ (British Club) เป็นต้น
โดยปกติประธานสภาฟรีเมสันเซนต์จอห์น จะเป็นชาวต่างชาติเสมอ จนกระทั่งในปี 1967 เป็นโอกาสที่
ท่านวิลาศ บุนนาค ซึ่งคนไทยคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ จากนั้นเป็นต้นมา ประธานสภาฯ จึงเป็นคนไทยบ้าง ชาวต่างชาติบ้าง สลับกันไป ตามแต่ละโอกาส