
สภาฟรีเมสันรัตนโกสินทร์
ขอนำหนังสือแสดงความยืนยันในการก่อตั้งสภาฯ โดย ท่าน ประธานก่อตั้ง คือ Bro กฤษดา อรุณวงศ์ ณ อยุทธยา
สภาฟรีเมสันรัตนโกสินทร์
เอกลักษณ์ฟรีเมสันในประเทศไทย
ฟรีเมสันเข้ามาในประเทศไทยมากว่า 100 ปี เริ่มด้วย Lodge St John ตั้งขึ้นตามกฏเกณฑ์ธรรมนูญ Scotland ในปี 1911 ขณะนี้ เรามีสภาฟรีเมสันตามกฏเกณฑ์ธรรมนูญ 5 แห่ง กล่าวคือ Scottish, English, Irish, French and Dutch แต่อย่างก็ตาม เมื่อรวมจำนวนสมาชิกทั้งหมดแล้ว ก็มีไม่ถึง 200 คน ในจำนวนนี้มีคนไทยประมาณ 20 คน
ฟรีเมสันเป็นระบบที่ยิ่งใหญ่สอนให้รู้ซึ้งถึงคุณค่าศิลธรรม เกียรติยศ คุณงามความดี ไมตรีจิต สันติสุข และความออบอ้อมอารีย์ พร้อมทั้งส่งเสริมให้รักษาความสงบเรียบร้อย กระทำทุกอย่างด้วยความถูกต้อง และ การนับถือตนเอง ขณะเดียวกัน เน้นเรื่องการเคารพกฎหมายและกฏเกณฑ์ต่างๆของบ้านเมือง อีกทั้งส่งเสริมให้มีความจงรักภักดีต่อองค์กรที่ตนร่วมอยู่ และเชื่อมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ
คำถามมีว่า ทำไมคนไทยร่วมฟรีเมสันกันน้อยมาก ทั้งๆที่ฟรีเมสันเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยกว่า 100 ปีแล้ว เหตุผลคงไม่ไช่เพราะคนไทยไม่เชื่อในคุณค่าชองฟรีเมสัน แต่เป็นไปได้ว่า ภาษาที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆเป็นภาษาต่างประเทศ คนไทยโดยทั่วไป แม้จะพูดภาษาอังกฤษ(สมัยใหม่) ยังไม่คล่องเลย ฉะนั้นเราคงไม่ต้องพูดถึงภาษาอังกฤษโบราณที่ชาวฟรีเมสันใช้ในการประกอบพิธีการต่างๆ
ตามความเป็นจริงแล้ว การแปลจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง คำต่อคำ เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ท่าน Oliver W. Holmes, ผู้พิพากษาชาวอเมริกันศาลสูงสุดที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า คำๆหนี่งมีความไม่ชัดพอ ที่จะแปลเป็นอีกภาษาหนี่งให้ชัดเหมือนต้นภาษา คำๆหนึ่งในภาษาหนี่งเป็นเพียงเปลือกภายนอกของความคิดที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตาม ยุคสมัย และสถานที่ที่เรานำคำนั้นไปใช้
ดังนั้น ในขณะนี้ เราได้ตัดสินใจที่คงต่ำแหน่งต่างๆ และคำบางคำ ไว้เป็นภาษาอังกฤษตามเดิมไปก่อน และเราจะพยายามค้นคว้าความหมายต่อไปจนกว่าเราจะได้พบคำแปลที่เหมาะสมที่มีความหมายในระดับเดียวกัน
ในฟรีเมสัน การสรรหาสมาชิกที่มีคุณภาพมีความสำคัญยิ่ง เราจะเสาะหาและจะรับบุคคลที่มีคุณสมบัติที่ดี มีชื่อเสียงในสังคม เพื่อว่าเขาจะได้เป็นผู้นำที่เด่นของฟรีเมสันในประเทศไทยและ เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นได้
วิวัฒนาการและการเจริญเติบโตของสภาฟรีเมสันภาษาไทยคงต้องใช้เวลา เช่นเดียวกับที่เราเฝ้าดู ถนุถนอม กล้วยไม้ที่กำลังโตวันโตคืน ออกดอกสวยงาม เราเชื่อมั่นว่า เราจะเติบโตที่จะขั้นที่ละตอนอย่างเข้มแข็ง และในที่สุดเราจะเห็นผลที่งดงามอันจะเป็นความภาคภูมิใจของทุกคนที่มีส่วนร่วมในการก่อตั้งสภาฟรีเมสันรัตนโกสินทร์
Bro กฤษดา อรุณวงศ์ ณ อยุทธยา
Substitute District Grand Master,
Past Master Lodge St John No 1072, S.C
Past Master Lodge Lan Xang No 1632 S.C.
สภาฯแห่งนี้ ได้ใช้ พระปรางค์วัดอรุณ เป็นสัญลักษณ์ จึงขอเสนอประวัติดังนี้
ประวัติพระปรางค์วัดอรุณ
รัตนโกสินทร์เป็นชื่อส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ยากนักที่คนทั่วไปจะจำชื่อเต็มๆของกรุงเทพมหานครได้
ชื่อเมืองหลวงของเราเริ่มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์…….หมายความว่า นครที่ยิ่งใหญ่ ของเทพเทวดา เป็นที่อยู่ที่ตลอดกาลและสถานที่ที่มีคุณค่ายิ่งของพระอินทร์
พระเจ้าตากสิน ผู้ครองนครตาก พร้อมด้วยทหารเอกได้ต่อสู้กับทหารพม่าฝ่าออกจากวงล้อมกรุงศรีอยุธยาอยุทธยา พระองค์เสด็จตามชายฝั่งไปยังเมืองจันทบุรีและรวบรวมอาสาสมัครตามทางเพื่อให้กองทัพเข้มแข็งยิ่งขิ้น โดยหวังที่จะกอบกู้เมืองอยุธยาอยุทธยาจากกองทัพพม่าให้ได้
วัดอรุณตั้งมาตั้งแต่สมัยอยุทธยา มีชื่อว่า วัดมะกอก เป็นวัดที่ได้ชื่อตามพื้นที่ ท้องถิ่นนั้นเรียกกันว่า บางมะกอก เมื่อชาวต่างประเทศออกเสียงให้ถูกต้องไม่ได้ เขาก็เรียกว่า บางกอก เช่นเดียวกับเมืองอื่นๆในประเทศอินเดียและพม่า
วัดแห่งนี้มีการเปลี่ยนชื่อหลายครั้ง แต่ในที่สุด ก็ได้ชื่อว่า วัดอรุณราชวรวิหาร หมายความว่า วัดหลวงในยามอรุณ
หลังจากที่พระเจ้าอยู่หัวตากสิน ชนะสงครามเอาเมืองอยุทธยากลับคืนมาได้ในปี 1767 พระองค์ก็สถาปรนากรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง และได้สร้างพระราชวังติดกับวัดอรุณ กองทัพเรืรีอของพระองค์ได้มาจอดเทียบท่าเจดีย์สูง 16 เมตร ในยามเช้าตรู่ เจดีย์องค์นี้เป็นที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุ พระองค์ทรงเห็นว่าเวลาเช้าตรู่นั้นเป็นเวลามงคลยิ่งนัก จึงทรงโปรด ให้ตั้งชื่อใหม่ว่า วัดแจ้ง คนสูงวัยในขณะนี้ ก็ยังเรียกวัดนี้ว่า วัดแจ้ง
พระเจ้าอยู่หัวรัชราชการที่ 2 ทรงได้ตกแต่งเจดีย์ทั้งองค์ สูงขึ้นถึง 79 เมตร และได้ขนานนามว่า พระปรางค์ บัดนี้คนทั่วไป รู้จักองค์เจดีย์แห่งนี้ เป็นอย่างดี
สภาฟรีเมสันรัตนโกสินทร์ได้เลือก พระปรางค์ เป็นสัญลักษณ์ของสภาฯ ไม่เพียงแต่ว่า พระปรางค์เป็นที่รู้จักทั่วไปเท่านั้น แต่ ยังหมายถึง ความกล้าหาญ ความจงรักภักดีต่อชาติ และ เพื่อรักษาความเป็นอิสระอิสสระ และเพื่อระลึกถึงความเป็นผู้นำของพระเจ้าอยู่ห้วตากสิน นอกจากนั้ ยังเป็นสัญลักษณ์ของ ความงาม ความเข้มแข็ง และความยั่งยืน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหัวรัชการที่ 2 พระองค์ยังทรงพระปรีชา ด้านกวี ตดนตรี ศิลปะ และการแกะสลัก อีกทั้ง สถาปัติตยกรรม และบัดนี้ วันศิลป์แห่งชาติตรงกับวันพระราชสมภพของพระองค์รัชการที่ 2
การสร้างสถานที่ประชุมประจำ
ในตอนปลายทศวรรษที่ 90 บรรดาสมาชิกทั้งหลายเห็ห้นพร้อมต้องกันว่า สภาฟรีเมสันที่ก่อตั้งภายในธรรมนูญ Scotlandในประเทศไทย ควรมีสถานที่ประชุมของตนเองในเพื่อใช้ในการประชุม และประกอบพิธีการต่างๆ จึงได้จัดหาทุนโดยการด้วยการ เรี่ยไรเงินทุนทั้งจากสมาชิกฟรีเมสันในประเทศไทยและต่างแดน เพื่อซื้อที่ดินและสร้างอาคาร
ท่านอาจารย์ กฤษดา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา อดีตประธานสภาฟรีเมสัน St John คนท่านหนึ่ง ได้ออกแบบอาคาร และได้เริ่มก่อสร้างภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญชาวฟรีเมสัน อาคารก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อในปี 2004 บัดนี้เป็นที่ประชุมของ สภาฟรีเมสัน St John, ลานช้าง และ รัตนโกสินทร์ และรวมทั้งสภาฟรีเมสันที่ก่อตั้งภายใต้ธรรมนูญอื่นด้วย
