top of page

ฟรีเมสัน

ฟรีเมสัน ยึดถือและส่งเสริม  ความดีงามทางศีลธรรมและคุณค่าทางจิตใจ 

 

หลักสำคัญของฟรีเมสัน คือ

-         ความรักฉันพี่น้อง

-         การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และ

-         หลักสัจธรรม

 

อธิบายพอสังเขปได้ดังนี้

1)         ความรักฉันพี่น้อง

           ชาวฟรีเมสันทุกท่าน จะอดทนและนับถือความคิดอ่านของผู้อื่น มีความเมตตาและความกรุณาอีกทั้งมีความเข้าใจต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

2)         การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

           ชาวฟรีเมสันได้รับการฝึกฝนให้รู้จักวิธีการให้ และการดูแลผู้อื่น ไม่เพียงแต่ตัวเขาเองเท่านั้นแต่จะดูแลผู้คนทั้งชุมชน โดยการให้ในสิ่งที่ให้ได้ และอาสาที่จะทำงานให้

3)         สัจธรรม

             ชาวฟรีเมสันต่อสู้เพื่อความจริง และต้องการมีมาตราฐานทางศิลธรรมสูง  ชาวฟรีเมสันมีความเชื่อว่าหลักการนี้เป็นวิถีทางที่จะบรรลุมาตราฐานที่สูงยิ่งในชีวิตของเขา

 

•          ชาวฟรีเมสัน มีคติที่เชื่อมั่นว่า ฟรีเมสันจะต้อง ทำคนดีให้ดียิ่งขึ้น มาหลายชั่วอายุคนแล้ว นับแต่มีการก่อตั้งฟรีเมสันขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน ไม่อาจทราบได้ว่ากี่ร้อยปีแล้ว แต่ทราบว่ามีอายุนับร้อยๆปี เป็นองค์การของคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติใด หรือศาสนาใด

       

             ประโยคที่ดีประโยคหนึ่งที่กล่าวกันมานานในศาสตร์ฟรีเมสันก็คือ

            “ฟรีเมสันเป็นระบบศีลธรรมที่มีหลักการดีๆ ซ่อนอยู่ในความหมายต่างๆ และแสดงความหมายเหล่านั้น ด้วยสัญญาณต่างกันไป"

 

•          ฟรีเมสัน หมายถึง เมสันที่เป็นไท และเมสัน หมายถึง ช่างไม้ช่างปูน 

 

•          ชาวฟรีเมสันได้บทเรียนดีๆ จากเครื่องมือการทำงานของช่างไม้ช่างปูน ด้วยการเปรียบเปรยเครื่องมือเหล่านั้นในเชิงศีลธรรม และได้ใช้ชีวิตร่วมกัน เสมือนฉันพี่น้อง และพัฒนาตนเองทั้งทางศีลธรรมและจิตใจมาเป็นเวลายาวนานนับร้อยๆปี

 

•          ฟรีเมสันเปิดโอกาสให้ทุกคนที่เป็นคนดี ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด นับถือศาสนาใด เพียงมีความเชื่อในศาสนาที่ตนนับถือ ก็สามารถเป็นสมาชิกฟรีเมสันได้

 

•          ฟรีเมสันไม่ได้เป็นองค์กรศาสนา แต่ส่งเสริมให้สมาชิกนับถือศาสนาที่ตนเองนับถืออย่างจริงจัง ในระหว่างการประชุมสภาฟรีเมสัน เราจะไม่มีการกล่าวถึงศาสนา เพื่อรักษาบรรยากาศความสามัคคีในหมู่ชาวฟรีเมสันและผู้มาเยีอน

 

•          ฟรีเมสัน ไม่ได้เป็นองค์กรการเมือง ฉะนั้น ผู้มาเยือนไม่ควรถกเรื่องการเมืองในที่ประชุมเป็นอันขาด ทั้งนี้ฟรีเมสันต้องการรักษาบรรยากาศความสามัคคีทั้งของชาวฟรีเมสันเอง รวมทั้งผู้ที่ไม่ได้เป็นฟรีเมสัน

 

•          สำหรับความคิดที่ว่า ฟรีเมสันเป็นองค์กรลับนั้น ท่าน Benjamin Franklin ได้กล่าวไว้ว่า ความลับของฟรีเมสัน ก็คือ ฟรีเมสันไม่มีความลับใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าผู้คนจะพูดกันอย่างไร จะมีผู้คนเขียนหนังสือเป็นเล่มๆ จริงบ้างไม่จริงบ้างก็ดี วิธีที่ดีสุด คือ ท่านควรมาพิสูจน์ด้วยตนเองด้วยการเข้าร่วมเป็นสมาชิกฟรีเมสัน

 

 

 

 

การร่วมเป็นสมาชิก

          การเข้าเป็นสมาชิกฟรีเมสัน ง่ายแต่ต้องอดทน เพราะทุกอย่างตรงไปตรงมาและมีขั้นตอน คุณสมบัติที่สำคัญในการเป็นสมาชิกฟรีเมสัน มีดังนี้

         -เป็นชายและนับถือประมุขของศาสนาของท่าน

         -เป็นคนดีมีศีลธรรม

         -ต้องบรรลุนิติภาวะ คือ มีอายุไม่ต่ำกว่า 21 ปี  แต่ถ้า ผู้สมัครเป็นบุตรของชาวฟรีเมสัน สามารถเข้าร่วมได้ตั้งแต่อายุ 18 ปี

ถ้าท่านสนใจเข้าร่วมสภาฟรีเมสัน รัตนโกสินทร์ โดยร่วมรับประทานอาหารกับเรา กรุณาติดต่อท่านเลขานุการล่วงหน้าในหน้า ติดต่อเรา

 

 

 

 

ประวัติฟรีเมสันในประเทศไทย

 

         ขณะที่การค้าขายระหว่างประเทศไทยกับยุโรปเจริญเติบโตดขึ้น กรุงเทพฯๆ ก็กลายเป็นบ้านที่สองของชาวยุโรป ส่วนใหญ่จะทำงานกับบริษัทเดินเรือ สำนักงานกฎหมาย ธนาคาร และ บริษัทค้าขาย พวกเขาได้นำเอาวัฒนธรรมและประเพณีของเขามาด้วยรวมทั้งฟรีเมสัน ทั้งนี้เราดูสามารถเห็นได้จากแผ่นหินตามหลุมฝังศพของชาว คริสเตียนจะมีเครื่องหมายฟรีเมสันอยู่

 

         เริ่มครั้งแรก นักเดินเรือชาวอังกฤษ ชาวไอริช และชาวสคอตท์ ผู้ซึ่ง เดินทาง ระหว่าง เกาะสิงคโปร์ และ กรุงเทพฯ พยายามที่จะก่อตั้งสภาฟรีเมสันขึ้นในกรุงเทพฯ   ทั้งนี้ก็เพราะว่า เนื่องจากพวกเขามีสภาฟรีเมสันในสิงคโปร์อยู่แล้ว และต้องการที่จะมีสภาฯใน กรุงเทพฯ ด้วย

 

         ในตอนปลายทศวรรษที่ 1870 พวกเขาได้พยายามก่อตั้งด้วยการประกาศเชิญชวนผู้ที่สนใจเป็นฟรีเมสันลงในหนังสือพิมพ์ นสพ ในกรุงเทพฯ แต่พอถึงต้นทศวรรษที่ 1880 ก็ต้องประกาศยกเลิก เพราะเห็นว่า สมาชิกที่สนใจมีไม่เพียงพอต่อในการก่อตั้ง

 

         หลังจากนั้นความพยายามคิดการก่อตั้งสภาฟรีเมสันก็ไม่ได้ลดน้อยถอยลง หยุดหย่อนเลย ในปี 1898 คณะก่อตั้ง ได้ขอให้สภาฟรีเมสันสากลอังกฤษ แนะนำเชิญชวนผู้ที่เป็นฟรีเมสันตามธรรมนูญอังกฤษ, ก็ดี ไอริช,ก็ดี หรือ สก็อตท์ก็ดี หรือและอื่นๆ ที่พักพิงอยู่ในประเทศไทย เพื่อจะเชิญชวนมาร่วมก่อตั้งสภาฟรีเมสันในกรุงเทพฯ

 

     ในที่สุด ในปี 1890 ท่านเลขานุการสภาฟรีเมสันสากล Sir Edward       Letchworth ได้แนะนำมาว่า ยังไม่ควรตั้งสภาฟรีเมสันในกรุงเทพฯ เพราะระยะทางระหว่างกรุงเทพฯกับประเทศอังกฤษนั้นไกลกันมาก ถ้ามีเหตุขัดข้องประการใด เกิดขึ้น ระหว่างการก่อตั้งแล้ว จะแก้ไขไม่ทันการณ์

 

     อย่างไรก็ตาม ความตั้งใจการที่จะก่อตั้งสภาฟรีเมสันก็ยังคงอยู่ต่อไป นอกจากนี้ อีกทั้งสภาฟรีเมสันภาค ซึ่งตั้งอยู่ที่สิงคโปร์ ก็ให้สนับสนุนความพยายามของชาวฟรีเมสันที่อยู่ในประเทศไทย และในปี 1905 ชาวฟรีเมสันในประเทศไทยได้ร่วมกันร่างใบสมัครขอตั้งสภาฟรีเมสันในประเทศสยามต่อสภาฟรีเมสันสากลขึ้น

 

     ในการจัดใบสมัคร ครั้งนี้ ได้ทำอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น คณะก่อตั้ง ได้จัดเตรียมข้อบังคับไปด้วย โดยตั้งชื่อสภาฯ แห่งนี้ ว่า สภาฟรีเมสัน แม่น้ำ (ชื่อแม่น้ำเจ้าพระยาที่ชาวต่างชาติใช้เรียกในสมัยนั้น) และได้เสนอชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ดำรงต่ำตำแหน่ง ทุกต่ำตำแหน่งเพื่อแสดงความพร้อม และได้กำหนดค่าบำรุงไว้ที่ 60 บาทต่อคนต่อปี 

 

         เงินที่ต้องใช้ในการก่อตั้งสภาฟรีเมสัน แม่น้ำนั้น ต้องใช้เงินถึง 10,000 บาท (ในสมัยนั้น นับว่าแพงมาก) แต่ก็ได้รับการบริจาคจากสมาชิกสภาฟรีเมสันต่างๆ ใน ประเทศอเมริกา, ฮ่องกง, พม่า, ไอแลนด์, สก็อตท์แลนด์, ออสเตรเลีย,เสีย และเยอรมนีเยอมันนี เป็นต้น

 

         ในใบสมัครนั้น ยังได้แจ้งให้ทราบว่า สภาได้รับอนุญาติจากเจ้าหน้าที่รัฐบาลชั้นสูง มีความยินยอมให้ก่อตั้งสภาฟรีเมสันขึ้นในประเทศสยามได้

 

         อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่รอการอนุมัติคำร้องนั้น ท่านประธานของสภาฯ แม่น้ำที่เลือกไว้ได้ ถึงแก่กรรม ดังนั้นจึง ต้องเลือก ประธานสภาฯกันใหม่ และในปลายปี1906 การก่อตั้งสภาฟรีเมสัน แม่น้ำ ก็จำต้องเลิกราไป 

 

        ต่อมาความคิดการก่อตั้งสภาฟรีเมสันได้เปลี่ยนจากการก่อตั้งภายใต้ธรรมนูญ อังกฤษ เป็นการก่อตั้งภายใต้ธรรมนูญ Scotland และในที่สุด ก็ได้ตกลงกันให้ใช้ชื่อสภาฟรีเมสันแห่งนี้ว่า St John ภายใต้ธรรมนูญ Scotland ซึ่งตั้งอยู่ ณ กรุง Edinburgh

 

         หลังจากที่ได้เผชิญกับความยุ่งยากอีกครั้งรอบหนึ่ง การก่อตั้งก็สำเร็จ โดยได้มีการลงชื่อก่อตั้งที่กรุง Edinburgh ในเดือนสิงหาคม 1910 และได้มีการจัดพิธีการก่อตั้งขึ้นในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 1911 นับแต่นั้นมา สภาฯแห่งนี้ได้มีการจัดการประชุมเป็นประจำจนถึงปัจจุบันทุกวันนี้ เว้นแต่ยกเว้นช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในระหว่างปี 1942-1945

 

      หลังจากเมื่อก่อตั้งแล้ว สภาฟรีเมสัน St John ได้จัดทำรายงานโดยตรงให้สภาฟรีเมสันสากล ที่กรุง Edinburgh แต่ตั้งแต่ปี 1954 เป็นต้นมา สภาฟรีเมสันสากลแห่ง Scotland และ สภาฟรีเมสัน St John ได้ตกลงกันว่า สภาฯแห่งนี้ควรจะร่วมอยู่ร่วมกับสภาฟรีเมสันภาคตะวันออกกลาง ซึ่งตั้งอยู่ที่ กรุง Kuala Lumpur

 

         เมื่อมาสังกัดอยู่ในภาคตะวันออกกลางแล้ว สภาฟรีเมสัน St John จึงนับเป็นสภาฯ ที่เก่าแก่ที่สุดลำดับที่สอง รองจาก สภาฟรีเมสัน Scotia 1003 ซึ่งก่อตั้งในปี 1906

 

         อันที่ตามความจริงแล้ว สภาฟรีเมสันแห่งแรก คือ สภาฟรีเมสัน Neptune หมายเลข 441 ก่อตั้งในปี 1810 แต่บัดนี้ ได้ถูกล้มเลิกไปแล้ว

 

      สำหรับสถานที่ที่ใช้ประชุมสภาฟรีเมสันในขณะนั้น จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ภายใน กรุเทพฯ เพราะตยังไม่มีที่ประชุมถาวร ตัวอย่างสถานที่ที่เคยประชุม เช่นก็มี

          -อาคารของบริษัท Gerson & Son ถนน สีลม

          -บ้านเช่า ใน ซอย 39 สุขุมวิท

          -British Club

         โดยปกติประธานสภาฟรีเมสัน St John จะเป็นชาวต่างประเทศ จนกระทั่งปีถึงปี 1967 ซึ่งในปีนั้น ท่าน วิลาศ บุนนาค ได้เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับตำแหน่งเป็นประธานสภาฯ จากนั้นเป็นต้นมา ประธานสภาฯ จึงเป็นคนไทยบ้าง ชาวต่างประเทศบ้าง สลับกันไป ตามแต่โอกาสจะอำนวย

bottom of page